พุทธมงคลอานิสงส์

พระพุทธรูปปางประจำวันเกิด และบทสวดมนต์

พระพุทธรูปปางถวายเนตรองค์พระพุทธรูปหยกขาว บริเวณหน้าพระธาตุมุเตา

พระบูชาประจำท่านที่เกิดวันอาทิตย์

ประวัติย่อ พระพุทธรูปปางถวายเนตร

เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงประทับยับยั้งเสวย วิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จออกจากภายใต้ร่มโพธิ์ ไปประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) เพื่อทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อรำพึงถึงคุณประโยชน์ของต้นศรีมหาโพธิ์ ที่แผ่กิ่งก้านประทานร่มเงาให้ความร่มเย็น เป็นการอำนวยช่วยให้พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

บทสวดมนต์สำหรับท่านที่เกิดวันอาทิตย์

เช้า สวดบทนี้

อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ

เย็น สวดบทนี้

อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ

พระคาถาต่อท้ายของทุกวัน เมื่อสวดประจำวันแล้ว ขอให้สวดบทนี้ ๓ จบ จะมีความสุข ความเจริญ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

พระพุทธรูปปางห้ามญาติ

พระบูชาประจำท่านที่เกิดวันจันทร์

ประวัติย่อ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ (หรือเรียกอีกชื่อว่าปางห้ามสมุทร)

ครั้งหนึ่ง พระญาติฝ่ายพระพุทธบิดา และพระญาติฝ่ายพระพุทธมารดาเกิดพิพาทกัน เรื่องการแย่งกันทดน้ำเข้านา จนลุกลามใหญ่โตจนถึงขั้นกษัตริย์นครกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระพุทธบิดา และกษัตริย์นครเทวทหะ ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระพุทธมารดา ได้กรีธาทัพมาประชิดกันที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี เพื่อจะทำสงครามกัน ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบ จึงเสด็จไปห้ามและได้แสดงโทษของสงครามให้ฟัง กษัตริย์ทั้งสองฝ่ายจึงยกทัพกลับ

บทสวดมนต์สำหรับท่านที่เกิดวันจันทร์

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

พระคาถาต่อท้ายของทุกวัน เมื่อสวดประจำวันแล้ว ขอให้สวดบทนี้ ๓ จบ จะมีความสุข ความเจริญ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

พระพุทธรูปปางไสยาสน์

พระบูชาประจำท่านที่เกิดวันอังคาร

ประวัติย่อ พระพุทธรูปปางไสยาสน์

สมัยหนึ่ง เมื่อครั้งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ. วัดเชตวันในพระนครสาวัตถีครั้งนั้น อสุรินทราหูจอมอสูร ซึ่งสำคัญตนว่ามีร่างใหญ่โตกว่าพระพุทธเจ้า ได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ แต่ไม่ยอมแสดงความเคารพอ่อนน้อมพระพุทธองค์ทรงหวังจะลดทิฏฐิจอมอสูร จึงทรงเนรมิตพระวรกายให้ใหญ่โตกว่าจอมอสูร ในท่าประทับนอนและแสดงธรรมโปรด จนในที่สุดจอมอสูรจึงลดทิฏฐิยอมอ่อนน้อมเคารพต่อพระพุทธองค์

บทสวดมนต์สำหรับท่านที่เกิดวันอังคาร

ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน
ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา
สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา
คะณะนา นะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

พระคาถาต่อท้ายของทุกวัน เมื่อสวดประจำวันแล้ว ขอให้สวดบทนี้ ๓ จบ จะมีความสุข ความเจริญ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร

พระบูชาประจำท่านที่เกิดวันพุธกลางวัน

ประวัติย่อ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร

ครั้งหนึ่ง หลังจากพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องเวสสันดรชาดก โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติทั้งหลาย พระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ต่างมีความปิติแช่มชื่นโสมนัสยิ่งนัก จนลืมกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารเช้าในพระราชวัง ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นพระพุทธองค์ พร้อมด้วยสาวก จึงเสด็จออกรับบิณฑบาต จากประชาชนทั่วไปในกรุงกบิลพัสดุ์

บทสวดมนต์สำหรับท่านที่เกิดวันพุธกลางวัน

สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ
ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง
สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

พระคาถาต่อท้ายของทุกวัน เมื่อสวดประจำวันแล้ว ขอให้สวดบทนี้ ๓ จบ จะมีความสุข ความเจริญ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์

พระบูชาประจำท่านที่เกิดวันพุธกลางคืน

ประวัติย่อ พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์

เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้วนับได้พรรษาที่ ๑๐ ในเวลาก่อนเข้าพรรษานั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ฝ่ายพระวินัยธรและฝ่ายพระธรรมกถึกทะเลาะกัน พระองค์ทรงห้ามปรามก็มิได้เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง พระองค์จึงได้เสด็จหลีกไปจำพรรษาอยู่พระองค์เดียวในป่ารักขิตวันตำบลปาริไลยกะ มีพญาช้างตัวหนึ่งเรียกภายหลังว่า ปาลิไลยกหัตถี ทำวัตรปฏิบัติอุปัฏฐากพระองค์ตลอดพรรษา

ในพรรษานั้นมีลิงตัวหนึ่งนำรวงผึ้งที่ไม่มีตัวอ่อนมาถวายพระองค์ด้วย ฉะนั้นพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ บางทีจึงมีรูปช้าง รูปลิงอยู่ด้วย

บทสวดมนต์สำหรับท่านที่เกิดวันพุธกลางคืน

กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ ฯ

สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตม๎หิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติฯ

พระคาถาต่อท้ายของทุกวัน เมื่อสวดประจำวันแล้ว ขอให้สวดบทนี้ ๓ จบ จะมีความสุข ความเจริญ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

พระพุทธรูปปางสมาธิ

พระบูชาประจำท่านที่เกิดวันพฤหัสบดี

ประวัติย่อ พระพุทธรูปปางสมาธิ

ภายหลังจากที่พระมหาบุรุษได้กำราบพญามารลงได้แล้ว ก็ทรงอธิษฐานจิตมุ่งบรรลุพระโพธิญาณ

พระองค์ตั้งพระทัยเจริญสมาธิ จนได้บรรลุญาณขั้นต่าง ๆ และในที่สุดก็ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาเช้าตรู่ของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) หลังจากพระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา เพื่อแสวงหาความจริงอยู่นานถึง ๖ ปี

บทสวดมนต์สำหรับท่านที่เกิดวันพฤหัสบดี

ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง
ยัสสะ เตเชนะ ทาวัคคิ มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ
เถรัสสะ สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง
กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

พระคาถาต่อท้ายของทุกวัน เมื่อสวดประจำวันแล้ว ขอให้สวดบทนี้ ๓ จบ จะมีความสุข ความเจริญ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

พระพุทธรูปปางรำพึง

พระบูชาประจำท่านที่เกิดวันศุกร์

ประวัติย่อ พระพุทธรูปปางรำพึง

หลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ใต้ต้นไทร(อชปาลนิโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงถึงพระธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งคัมภีรภาพ ยากแก่การเข้าใจ จึงทรงรู้สึกอ่อนพระทัยในการที่จะนำออกแสดงโปรดสัตว์ ครั้นแล้วพระพุทธองค์ได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์มีภูมิต่างกันเปรียบเหมือนดอกบัวสี่เหล่า จึงทรงพระดำริที่จะแสดงธรรมตามขั้นต่างๆ แห่งปัญญาของสรรพสัตว์นั้นๆ

บทสวดมนต์สำหรับท่านที่เกิดวันศุกร์

อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ- มะหิงสายะ จะ คุตติยา
ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

พระคาถาต่อท้ายของทุกวัน เมื่อสวดประจำวันแล้ว ขอให้สวดบทนี้ ๓ จบ จะมีความสุข ความเจริญ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระบูชาประจำท่านที่เกิดวันเสาร์

ประวัติย่อ พระพุทธรูปปางนาคปรก

ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นมุจจลินท์(ต้นจิก) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกหนักตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์มีความกรุณาในพระพุทธองค์ กลัวพระองค์จะได้รับความลำบากเพราะถูกฝน จึงได้มานมัสการพระพุทธองค์ แล้วเลื้อยทำขนดล้อมพระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกายพระพุทธองค์

บทสวดมนต์สำหรับท่านที่เกิดวันเสาร์

(พระคาถาคลอดง่าย)

ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ

พระคาถาต่อท้ายของทุกวัน เมื่อสวดประจำวันแล้ว ขอให้สวดบทนี้ ๓ จบ จะมีความสุข ความเจริญ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ